วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

1. ชื่อโครงการ  โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ (ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน)
2. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์/ จุดเน้นของสำนักงาน กศน. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพการศึกษา จุดเน้นการดำเนินงาน 1.6 มุ่งเน้นการฝึกหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในวิชาช่างพื้นฐาน( ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างประปา       ช่างไฟฟ้า ฯลฯ) และวิชาชีพระยะสั้นอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่ และส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาชีพ ในอันที่จะประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ได้จริง ยุทธศาสตร์ที่ ๓ จัดการศึกษา
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต จุดเน้นการดำเนินงาน 3.5 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนในเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัย สร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนและความจำเป็นเร่งด่วนต่างๆของแต่ละชุมชน รวมทั้งมีการบูรราการความรู้ในชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆของ กศน. และใช้ทุนทางสังคมของแต่ละชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ โดยใช้ กศน.ตำบล/แขวง ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน/ ผู้รับบริการ
การศึกษาต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 6  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง
          มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษา/ การให้บริการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1  คุณภาพของหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ 3  คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้สอนที่เน้นผู้เรียน/                                     ผู้รับบริการเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่คุณภาพผู้สอน/วิทยากรสอนการศึกษาต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่คุณภาพสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการ
ตัวบ่งชี้ที่คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
ตัวบ่งชี้ที่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
3. หลักการและเหตุผล
                   พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551  มาตราที่ 6 (1) ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง เป็นธรรมและมีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพชีวิตของประชาชน การให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้  มาตราที่ 7(1) ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานในการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงและคุณภาพชีวิต ตามแนวทางการพัฒนาประเทศ (2)ภาคีเครือข่ายเกิดแรงจูงใจและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษา  มาตรา  9(1)ผู้เรียนเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ มีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้และสามารถเลือกรับบริการได้หลากหลายตามความต้องการของตนเอง  และจากผลการประเมินสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มาตรฐานที่ 1 ตัวบ่งชี้ที่ 1.6  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทางการศึกษาต่อเนื่อง  1.7 ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม มีทักษะในการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพการศึกษา จุดเน้นการดำเนินงาน 1.6 มุ่งเน้นการฝึกหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในวิชาช่างพื้นฐาน( ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างประปา ช่างไฟฟ้า ฯลฯ) และวิชาชีพระยะสั้นอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่ และส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาชีพ ในอันที่จะประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ได้จริง ยุทธศาสตร์ที่ ๓ จัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต จุดเน้นการดำเนินงาน 3.5 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนในเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัย สร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนและความจำเป็นเร่งด่วนต่างๆของแต่ละชุมชน รวมทั้งมีการบูรราการความรู้ในชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆของ กศน. และใช้ทุนทางสังคมของแต่ละชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ โดยใช้ กศน.ตำบล/แขวง ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                   กศน.ตำบลบ้านหวด ได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนทั่วไปในตำบลบ้านหวดอาทิ การสานตะกร้าพลาสติก  การทำอาหารและขนมไทย  การสานพรมเช็ดเท้า และการเย็บกระเป๋าผ้าด้นมือ  ซึ่งมีการต่อยอดในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ยังมีประชาชนอีกหลายกลุ่มที่ยังมีความต้องการในการร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและกอร์ปกับปัจจุบันเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นว่าควรจะได้มีการจัดฝึกอาชีพให้กับประชาชนที่สนใจ เพื่อจัดการศึกษาพัฒนาความรู้ความสามารถในการเลือกช่องทางมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ทักษะอาชีพและการบริหารจัดการ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
                   กศน.ตำบลบ้านหวด ได้เล็งเห็นความสำคัญความต้องการของประชาชนดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ(ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน)ดังกล่าวขึ้น

 

4. วัตถุประสงค์

            1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน สามารถเลือกและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการได้
          2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพเสริมเพิ่มค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

5.เป้าหมาย
เชิงปริมาณ   
-  ประชาชนที่ว่างงาน หรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิม หรือเปลี่ยนอาชีพใหม่ หรือหาอาชีพเสริม   จำนวนผู้รับบริการ 86 คน

6) วิธีดำเนินการ  ระบุกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์
กลุ่ม
เป้าหมาย
เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
1. หลักสูตรระยะสั้น(ไม่เกิน 30 ชั่วโมง) (งบทักษะชีวิต)

1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน สามารถเลือกและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการได้
2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพเสริมเพิ่มค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
20 คน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวด
มกราคม-มิถุนายน 2558
2,300 บาท

กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์
กลุ่ม
เป้าหมาย
เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
2. หลักสูตรช่างพื้นฐาน

1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน สามารถเลือกและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการได้
2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพเสริมเพิ่มค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
33 คน
พื้นที่ตำบลบ้านหวด
มกราคม-มิถุนายน 2558
29,700 บาท
3.หลักสูตรพัฒนาอาชีพ(ต่อยอดอาชีพเดิม)
1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน สามารถเลือกและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการได้
2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพเสริมเพิ่มค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
33 คน
พื้นที่ตำบลบ้านหวด
มกราคม-มิถุนายน 2558
29,700 บาท
4. นิเทศติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินโครงการฯ
เพื่อติดตาม ประเมินผล ความสำเร็จการจัดกิจกรรม
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพ
86 คน
ตำบลบ้านหวด
อ.งาว
จ.ลำปาง
มกราคม  
255๙มิถุนายน 2559
-

7) วงเงินงบประมาณทั้งโครงการ
            แผนงาน : ขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ผลผลิตที่ 4  ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ กิจกรรมจัดการศึกษานอกระบบ(งบดำเนินงาน)เพื่อดำเนินกิจกรรมจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ : หลักสูตรระยะสั้น (ไม่เกิน 30 ชั่วโมง) จำนวน  2,300 บาท
          1. หลักสูตรระยะสั้น(ไม่เกิน 30 ชั่วโมง) (งบทักษะชีวิต)
- ค่าวิทยากร                 2,300  บาท
                             รวม                 2,300  บาท
          แผนงาน : เร่งรัดและผลักดันการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (งบรายจ่ายอื่น) กิจกรรมส่งเสริมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จำนวน  59,400 บาท
          1. หลักสูตรช่างพื้นฐาน
                   - ค่าวิทยากร                 10,000  บาท
                   - ค่าวัสดุ                               19,700  บาท
                             รวม                 29,700  บาท

          2. หลักสูตรพัฒนาอาชีพ(ต่อยอดอาชีพเดิม)
                    - ค่าวิทยากร                 10,000  บาท
                   - ค่าวัสดุ                               17,700  บาท
                             รวม                 27,700  บาท

หมายเหตุ   ค่าใช้จ่ายสามารถถั่วเฉลี่ยได้ตามค่าใช้จ่ายจริง

8) แผนการใช้จ่ายงบประมาณ    ระบุแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมโดยจำแนกเป็นรายไตรมาส
กิจกรรมหลัก
ไตรมาส 1
(ต.ค.ธ.ค.พ.ศ2557)
ไตรมาส 2
(ม.ค.มี.ค.พ.ศ2558)
  ไตรมาส 3
 (เม.ย.มิ.ย.พ.ศ2558)
    ไตรมาส 4
 (ก.ค.ก.ย.พ.ศ2558)
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
-
/
/
-
บริหารจัดการ/นิเทศ
-
/
/
-

9) ผู้รับผิดชอบโครงการ            กศน.ตำบลบ้านหวด

10) เครือข่าย                       อบต.ตำบลบ้านหวด
                                      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวด
                                      โรงเรียนบ้านหวด,โรงเรียนปางหละ,โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๘๕

11) โครงการที่เกี่ยวข้อง           โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

12) ผลลัพธ์ (Outcome)        
ประชาชนที่ได้รับการฝึกอาชีพ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้

13) ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ
          13.1 ตัวชี้วัดผลผลิต (Output)
                   - เชิงปริมาณ     จำนวนผู้รับบริการ  86   คน
                   - เชิงคุณภาพ     ประชาชนที่ได้เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาหลักสูตรที่เข้ารับการอบรม
13.2 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome)
          1. ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีความพึงพอใจต่อการฝึกอาชีพตามที่ตนเองต้องการ ตามที่จัดให้
2. ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ หรืออาชีพเสริมต่อไป ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

14) การติดตามและประเมินผลโครงการ   ระบุวิธีการติดตามและเมินผลโครงการ
           1.  ติดตามจากการสุ่มตรวจและนิเทศ    

           2. ติดตามจากประชาชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพนำไปใช้ประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น